การสื่อสารในยุคดิจิตอล_อดรมานะ

Brand to Basic 08-01-58 (use)

เรามาทบทวนความรู้เรื่อง “Digital Media and Brand: Back to The Basic” เมื่อวันที่ 8 ม.ค.58 กันนะคะ 

วิทยากร: อ.ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อ.ปริญญา ชุมรุม
ผู้รวบรวมข้อมูล: ดร.นภารัตน์ พฤกษ์สุราลัย (กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการการจัดการความรู้)

สวัสดีปีใหม่ 2558 มายังพี่น้องคณาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะนิเทศศาสตร์ทุกท่าน  ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงดลบันดาลให้ทุกท่านประสบแต่ความโชคดี มีความสุข และมีสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ……

ในช่วงรอยต่อปีเก่าขึ้นปีใหม่ คณะฯของเรามีกิจกรรมหลากหลาย (ปาดเหงื่อ 555) ทั้งงานแบบเอกเทศ และแบบร่วมด้วยช่วยกัน ไม่ว่าจะเป็น มหกรรมการคุมสอบ การตรวจข้อสอบกองเท่าภูเขา การตัดเกรด การอบรมสัมมนา การจัดการเรื่องฝึกงานให้กับนักศึกษา การเตรียมสอนสำหรับภาคปลาย และอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม หนึ่งในกิจกรรมที่พวกเราให้ความสนใจและไม่พลาดที่จะเข้าร่วม คือ ‘โครงการอบรมและสัมมนาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน’ จัดโดยคณะนิเทศศาสตร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม ณ ห้อง 5303 ภายใต้หัวข้อ “Digital Media and Brand: Back to The Basic” (หัวข้อโดนมาก ๆ) จึงขออนุญาตเชิญชวนพี่ ๆ น้อง ๆ คณาจารย์ มาทบทวนและแลกเปลี่ยนความรู้ภายใต้หัวข้อดังกล่าวนี้กันนะคะ

ในวันอบรมดังกล่าว ช่วงที่ 1 พวกเราได้รับความรู้แบบเนื้อ ๆ เน้น ๆ จากอาจารย์ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ที่ให้เกียรติเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “การสื่อสารในยุคดิจิทัลและการหลอมรวมสื่อ” โดย อ.ดร.มานะ ได้กล่าวถึงภาพรวมของสื่อใหม่ประเภทต่าง ๆ แนวโน้มการเติบโต และอิทธิพลของสื่อใหม่ โดยเฉพาะ Social Media ที่มีต่อประชาชน….. (สำหรับท่านที่พลาดไม่ได้เข้าฟังหรือต้องการทบทวนความรู้ สามารถคลิกเข้าไปชมย้อนหลังได้ค่ะ) 

ช่วงที่ 2 เป็นการบรรยายเรื่อง “การสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัล” โดย อาจารย์ ปริญญา ชุมรุม ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและวิจัยตราสินค้า อ.ปริญญา ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของ Branding และท่านได้อธิบายให้พวกเราทราบว่า ทำไมการสร้างแบรนด์จึงมีความสำคัญต่อองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานย่อยของมหาวิทยาลัยอย่างคณะนิเทศศาสตร์ของเรา (สำหรับท่านที่พลาดไม่ได้เข้าฟังหรือต้องการทบทวนความรู้ สามารถคลิกเข้าไปชมย้อนหลังได้เช่นกันค่ะ)

ไฮไลท์ช่วงท้ายของการอบรม คือ ช่วงถามตอบ มีหลายแง่มุมได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน และยังคงทิ้งไว้ทุกท่านได้ช่วยกันคิดต่อ…. อาทิ อ.อเนญชา Q: จากความรู้ที่ได้รับจากการอบรม การสร้างแบรนด์ที่ดีนั้น คนมีความสำคัญที่สุด คนต้องไม่ใช่แค่เก่งอย่างเดียว แต่ควรมีทัศนคติที่ดี เข้าใจแบรนด์ และสามารถถ่ายทอดความเป็นแบรนด์ผ่านตัวตนออกไปได้ คำถามคือ หากคนที่ได้รับเลือกให้เข้ามา คณะฯไม่ได้เลือกมาเองแต่มาจากฝ่ายบุคลากรที่คัดคนเก่งเข้ามาให้ จะทำอย่างไรหากพวกเขาเหล่านั้นมีทัศนคติไม่ดี? อ.ปริญญา A: สถาบันการศึกษาต่างจากบริษัทเอกชนที่ลำดับการบังคับบัญชาค่อนข้างถาวรไม่ได้เป็นในรูปแบบวาระ จึงมีอำนาจมากพอที่จะกำหนดทิศทางและได้รับความร่วมมือจากผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ยากนัก (เราคงต้องช่วยขบคิดในประเด็นนี้กันต่อไป)/ อ.ดร.มานะ Q: อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ควรมี Personal Brand ไหม? อ.ปริญญา A: ต้องเริ่มที่การกำหนดภาพของมหาวิทยาลัยที่ชัดเจนก่อน และอาจารย์ของคณะฯที่ถูกส่งออกไปเพื่อปรากฏตัวต่อสาธารณะต้องสามารถ Sell จุดขายของมหาวิทยาลัยได้ ขณะเดียวกันคณะนิเทศศาสตร์ของเราอยากสื่อสารอะไรออกไปต้องกำหนดให้ชัดเจน และเป้าหมายต้องชัดว่าจะให้โดนใจลูกค้าหรือจะเป็นตัวของตัวเองมากกว่ากัน (เราคงต้องช่วยขบคิดกันต่ออีกเช่นกัน^^) เป็นต้น

ท้ายนี้หวังว่าบล็อกนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกท่านไม่มากก็น้อย อย่าลืมช่วยกันแสดงความคิดเห็นในช่อง comment ด้านล่างด้วยนะคะ พื้นที่นี้จะได้เป็นพื้นที่ช่วยผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ด้านการจัดการความรู้ (KM) ต่อไปค่ะ….. แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้านะคะ……….ขอบคุณมากค่ะ….

7 responses »

  1. ขอบคุณนะคะ หลังจากฟังอบรม อ้อได้ความรู้เยอะเลยค่ะ มีถามนอกรอบอาจารย์ปริญญาด้วยค่ะ เรื่อง brand building & brand communication ได้ความรู้เต็มๆเพื่อเอาความรู้นี้ไปใช้ไกด์ทีสิสกับไอเอสของนักศึกษาแบรนด์ค่ะ แถมยังเอาไอเอสของนักศึกษาเรื่อง ภาพลักษณ์ตราสินค้าเบบี้คิสในมุมมองของลูกค้า มาถามอาจารย์ด้วย อาจารย์แนะนำให้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อให้ตีความภาพลักษณ์ได้อย่างลึกซึ้งค่ะ

  2. ขอบคุณออ้อสำหรับการแชร์ความคิดเห็นค่ะ เรามีนักศึกษาทำไอเอสและสิสเรื่องแบรนด์ก็เยอะ อยากให้อาจารย์ทุกท่านที่มีแหล่งข้อมูลดีๆ แชร์ข้อมูลให้พวกเราสะสมและพัฒนาองค์ความรู้เรื่องนี้ให้แน่นๆยิ่งๆขึ้นไปค่ะ 🙂

  3. โดยเฉพาะเรื่องแบรนด์นี่ ถือว่าเป็นความรู้ที่คืนครูมานาน ได้ฟื้นฟูขึ้นมา รู้สึกได้ Brush up + อัพเดท ดีจริง ๆ ค่ะ

  4. ตอนนี้กำลังสนใจเรื่อง Corporate brand มากค่ะ มีโจทย์ท้าทายที่สุดคือ การสร้างแบรนด์จากพลังภายในองค์กร
    กระบวนการหลอมรวมสมาชิก กล่อมเกลาทัศนะ ให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์แบรนด์ขององค์กร
    มีแนวทางให้ทุกคนเป็นเสมือน brand ambassador ได้ นับว่าสำคัญเป็นที่หนึ่งเลยค่ะ ^^

  5. เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะบทบาทของสื่อดิจิตอลที่สร้างพลังมหาศาลในปัจจุบัน โดยสามารถนำเคสจาก ดร.มานะ มาใช้เป็นตัวอย่างให้นักศึกษา CMC เข้าใจกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ พร้อมเชื่อมโยงให้เห็นบทบาทของสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน

  6. ขอบคุณ ผศ.ดร.บุปผา เป็นอย่างสูง ที่ให้เกียรติมาแชร์ความรู้ หลอมรวมกับเรื่องนิวมีเดีย อีกทั้งยังนำความรู้ที่เกิดจากการหลอมรวมนี้ ไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาที่อาจารย์สอน เพื่อประโยชน์แก่นักศึกษาในวงกว้างต่อไปด้วยค่ะ 🙂

Leave a reply to Naparat Cancel reply